Volcanic Black Garlic

กระเทียมดำภูเขาไฟ

กระเทียมสด  ที่ผ่านกระบวนการผลิต ระยะเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิ (60–90 ° C) ภายใต้ความชื้นสูงที่ควบคุม (80–90%) เปลี่ยนเป็นกระเทียมดำ กระบวนการผลิต มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของสารอาหารในกระเทียมดำ  ซึ่งในกระเทียมดำที่ผ่านการผลิตแล้วจะมีสารอาหารมากกว่ากระเทียมสด มีรสชาดหวาน ความเหนียวเหมือนวุ้นและเยลลี่ ไม่มีกลิ่นที่รุนแรง กระเทียมเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญที่ใช้ปรุงอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อรางกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ป้องกันและต้านเซลล์มะเร็ง โรคเบาหวาน ความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด โรคไต และตับอักเสบ ฟื้นฟูตับ ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา บำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้ดูอ่อนเยาว์ เป็นแหล่งผลิตกระเทียมที่มีรสชาดที่ดีที่สุดในไทย และปลูกในเขตดินภูเขาไฟโบราณที่มีหินบะซอลต์กระจายตัวอยู่ในพิ้นที่ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร ซึ่งเป็นความลับที่เหนือกว่าในรสชาดและสารอาหารของกระเทียมดำ กระเทียมดำ
ตารางเปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของสารอาหารระหว่างกระเทียมดำกับกระเทียมสดที่ผ่านกระบวนการผลิต
Components of black garlic compared with fresh garlic
Nutrients Black garlic  Original  garlic
Water-soluble sugar Increased 1.88–7.91-fold 450 mg/g
Polyphenol Increased 4.19-fold 13.91 mg GAE/g
Flavonoid Increased 4.77-fold 3.22 mg RE/g
Amadori & Heyns Increased 40–100-fold 10 μg/g
Fructan Decreased 0.15–0.01-fold 580 mg/g
Leucine Increased 1.06-fold 58.62 mg/100 g
Isoleucine Increased 1.67-fold 50.04 mg/100 g
Cysteine Decreased 0.58-fold 81.06 mg/100 g
Phenylalanine Increased 2.43-fold 55.64 mg/100 g
Tyrosine Decreased 0.18-fold 449.95 mg/100 g
GAE = gallic acid equivalents; RE = rutin equivalents.
****Reference by:    Journal of food and drug analysis 25(2017) 62-70

จังหวัดศรีสะเกษ

จากรายงานทางธรณีวิทยาและแผนที่ทางธรณีวิทยาประเทศไทย พบบริเวณที่เป็นหินภูเขาไฟ (อายุ 2-4 ล้านปี) หรือหินบะซอลต์ ซึ่งเป็นหินที่เกิดจากภูเขาไฟในภาคอีสานใต้คือบริเวณเขากระโดง เขาพนมรุ้ง และภูอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และทางทิศใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ สำหรับในจ.ศรีสะเกษนั้น พบในพื้นที่อ.ขุนหาญและอ.กันทรลักษณ์ ซึ่งจากรายงานของกรมทรัพยากรธรณี (ศรีสะเกษ) ระบุพื้นที่ดังนี้ ในบริเวณอ.กันทรลักษณ์ กระจายอยู่ทั่วไปในตำบลจานใหญ่ น้ำอ้อม ภูเงิน และตระกาจ รวมพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณอ.ขุนหาญ พบที่บ้านซาขี้เหล็ก (เรียกพื้นที่หินบะซอลต์บ้านซาขี้เหล็ก) ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรานและบักดอง (รวมบางส่วนของอ.กันทรลักษณ์คือตำบลซา ทุ่งใหญ่ และละลาย) รวมพื้นที่ประมาณ 73 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ที่เป็นหินบะซอลต์และดินบะซอลต์มักเป็นพื้นที่ที่เป็นทำการเกษตรกรรมได้ดี เนื่องจากมีธาตุอาหารสำหรับพืชที่อุดมสมบูรณ์ ในเขตอำเภอขุนหาญและกันทรลักษ์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหินบะซอลต์กระจายตัวอยู่มาก ทำให้การทำเกษตรกรรมในพื้นที่นี้ได้ผลผลิตที่ดีแม้ไม่ใช่พืชประจำถิ่นเช่น การปลูกทุเรียน มะม่วงหิมพานต์ และยางพารา ผลการวิเคราะห์จากโครงการนำวัสดุที่เป็นสิ่งเหลือจากการทำเหมืองหินบะซอลต์จำพวกฝุ่นหินและเศษหินมาเป็นธาตุอาหารเสริมสำหรับพืช

thaiherbotop
thaiherbotop

– ภาพประกอบจำกกรมทรัพยากรธรณี (ศรีสะเกษ ซึ่งทุเรียนภูเขาไฟของ จ.ศรีสะเกษ มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวเพราะปลูกบนดินภูเขาไฟอายุกว่ำ 2,500 ปี ทำให้ทุเรียนมีรสชาติอร่อยกรอบนอก นุ่มใน กลิ่นไม่ฉุนมาก ในส่วนของ ททท.สำนักงานสุรินทร์ ได้เข้ามาให้การสนับสนุนในด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวสวนทุเรียนภูเขาไฟ อ.กันทรลักษ์ อ.ขุนหาญ และอ.ศรีรัตนะ

© 2020 THAIHERBOTOP. ALL RIGHTS RESERVED